อุปกรณ์ควบคุมในระบบทางกล
1.อุปกรณ์ควบคุมความดันสารทำความเย็น
ลิ้นลดความดันหรืออุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหล (Expansion Valve)
ลิ้นลดความดันหรืออุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหล (Expansion Valve) : ใช้ติดตั้งในระบบเพื่อควบคุมปริมาณสารทำความเย็นและลดความดันของสารทำความเย็นที่จะเข้าเครื่องระเหยน้ำยาอาจจะเป็นชนิดปรับด้วยมือ ชนิดอัตโนมัติ ชนิดควบคุมด้วยความร้อน ชนิดลูกลอย รวมทั้งชนิดท่อรูเข็ม เป็นต้น ในการศึกษาเพื่อทดสอบการทำงานของลิ้นลดความดัน จะเลือกใช้ลิ้นลดความดันชนิดควบคุมด้วยความร้อนที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศรถยนต์เป็นตัวอย่างสำหรับการทดสอบ
2.อุปกรณ์ป้องกันความดันสูง/ต่ำ
คอมเพรสเซอร์ (Compressor)
หน้าที่ของคอมเพรสเซอร์คือ ดูดสารทำความเย็นที่เป็นก๊าซในอีวาพอเรเตอร์ และรักษาความดันต่ำไว้ และอัดสารทำความเย็นที่เป็นก๊าซให้มีความดันสูง เพื่อให้สารทำความเย็นที่เป็นก๊าซสามารถกลั่นตัวเป็นสารทำความเย็นเหลวที่อุณหภูมิปกติ
3.อุปกรณ์ป้องกันน้ำมันเข้าระบบ
ถังแยกน้ำมัน (Oil Separator)
ในระบบทำความเย็นนั้นปริมาณของน้ำมันหล่อลื่นจะถูกนำออกมาทางท่อทางออกของคอมเพรสเซอร์ไปกับไอของสารทำความเย็นเสมอ การแยกน้ำมันหล่อลื่นออกจากไอของสารทำความเย็นแล้วนำกลับเข้ามาสู่ห้องเครื่องของคอมเพรสเซอร์จึงเป็นการทำให้ระบบทำความเย็นยังคงประสิทธิภาพที่ดีดังเดิม ถังแยกน้ำมันจึงเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ทำหน้าที่แยกน้ำมันหล่อลื่นแล้วออกจากสารทำความเย็นและนำกลับเข้าสู่คอมเพรสเซอร์ก่อนที่น้ำมันหล่อลื่นจะไหลเข้าไปในส่วนประกอบอื่นๆ ของระบบทำความเย็น
4.อุปกรณ์ป้องกันน้ำแข็งอุดตัน
รีซีฟเวอร์หรือดีไฮเดรเตอร์ (Receiver/Dehydrator)
รีซีฟเวอร์หรือไดรเออร์เป็นตัวดูดและเก็บความชื้น วัสดุที่ใช้ทำสารสำหรับดูดความชื้นในรีซีฟเวอร์คือเซลิก้าเจล ซึ่งมีคุณสมบัติในการเก็บความชื้นและสามารถทนอุณหภูมิได้สูงถึง 150°ฟ ต่ออัตราสารดูดความชื้น 5 ลูกบาศก์นิ้ว อุณหภูมิที่ตัวรีซีฟเวอร์สูงขึ้น ความสามารถในการดูดเก็บกักความชื้นก็จะลดน้อยลงไปเป็นอัตราส่วนกันกับอุณหภูมิ รอบๆ รีซีฟเวอร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น