วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Ph diagramและไซโครเมตริก

Ph diagramและไซโครเมตริก

1.Ph diagram

วัฏจักรของกำรท ำควำมเย็นบน p-h ไดอะแกรม



กระบวนกำรบน p-hไดอะแกรม

 • กระบวนการจาก 1-2 เป็ นกระบวนการอัดไอ อุปกรณ์คือ คอมเพรสเซอร์(compressor)
 • กระบวนการจาก 2-3 เป็ นกระบวนการควบแน่น อุปกรณ์คือ คอนเดนเซอร์ (condenser)
 • กระบวนการจาก 3-4 เป็ นกระบวนการทอตติง (throttling)อุปกรณ์คือ วาล์วขยาย (expansion valve)
 • กระบวนการจาก 4-1เป็ นกระบวนการระเหย อุปกรณ์คือเครื่องทำระเหย (evaporator



2.แผนภูมิไซโครเมตริก (Psychometric Chart) เป็นแผนภูมิที่บอกถึงรายละเอียดของอากาศที่สภาวะต่าง ๆ เชื่อว่าหลายท่านที่ทำงานในสายงานเครื่องกล เช่น งานปรับอากาศและความเย็นคงจะรู้จักแผนภูมินี้ และการที่เราเข้าใจแผนภูมินี้จะทำให้เราเข้าใจถึงธรรมชาติและกระบวนการการเปลี่ยนแปลงของสภาวะของอากาศตลอดจนสามารถนำมาใช้งานและวิเคราะห์แก้ใขปัญหาในงานที่เกี่ยวข้องได้มากยิ่งขึ้น

ความสำคัญของอากาศและการใช้งาน    เชื่อว่าทุกคนคงจะรู้จักอากาศ (Air) กันเป็นอย่างดี อากาศมีอยู่ทุก ๆ ที่เราทุกคนใช้อากาศในการหายใจ อากาศเป็นตัวช่วยในการติดไฟของเชื้อเพลิงในการหุงต้มหรือในเครื่องยนต์หรือเครื่องจักรต่าง ๆ ในงานด้านวิศวกรรมและการผลิต อากาศถูกนำมาใช้ประโยชน์ในกระบวนการต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนี้จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติ รายละเอียดตลอดจนธรรมชาติของอากาศซึ่งถ้าเราจะอธิบายกันแบบลอย ๆ นั้นก็ยากที่จะเข้าใจแผนภูมิ (Chart) หนึ่งที่จะนำมาอธิบายคุณสมบัติของอากาศได้ดีก็คือแผนภูมิไซโครเมตริก (Psychometric Chart) ซึ่งในแผนภูมิดังกล่าวจะรวบรวมความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ของอากาศให้ง่ายต่อการเข้าใจในรายละเอียด



คุณสมบัติสำคัญ ๆ ของอากาศ   ในงานทางวิศวกรรม เช่น งานปรับอากาศหรือทำความเย็นนั้นคุณสมบัติต่าง ๆ ของอากาศเป็นสิ่งที่มีผลกับสิ่งที่เราต้องการควบคุม เช่น อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์และอื่น ๆ บทความต่อไปนี้จะอธิบายถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ของอากาศเพื่อให้เป็นที่เข้าใจอย่างง่าย ๆ ดังนี้

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

อุปกรณ์ควบคุมในระบบทางกล

         

 อุปกรณ์ควบคุมในระบบทางกล

 

1.อุปกรณ์ควบคุมความดันสารทำความเย็น

                     ลิ้นลดความดันหรืออุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหล (Expansion Valve) 

                     ลิ้นลดความดันหรืออุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหล (Expansion Valve) : ใช้ติดตั้งในระบบเพื่อควบคุมปริมาณสารทำความเย็นและลดความดันของสารทำความเย็นที่จะเข้าเครื่องระเหยน้ำยาอาจจะเป็นชนิดปรับด้วยมือ ชนิดอัตโนมัติ ชนิดควบคุมด้วยความร้อน ชนิดลูกลอย รวมทั้งชนิดท่อรูเข็ม เป็นต้น ในการศึกษาเพื่อทดสอบการทำงานของลิ้นลดความดัน จะเลือกใช้ลิ้นลดความดันชนิดควบคุมด้วยความร้อนที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศรถยนต์เป็นตัวอย่างสำหรับการทดสอบ


2.อุปกรณ์ป้องกันความดันสูง/ต่ำ

                 คอมเพรสเซอร์ (Compressor)  

                 หน้าที่ของคอมเพรสเซอร์คือ ดูดสารทำความเย็นที่เป็นก๊าซในอีวาพอเรเตอร์ และรักษาความดันต่ำไว้ และอัดสารทำความเย็นที่เป็นก๊าซให้มีความดันสูง เพื่อให้สารทำความเย็นที่เป็นก๊าซสามารถกลั่นตัวเป็นสารทำความเย็นเหลวที่อุณหภูมิปกติ 

3.อุปกรณ์ป้องกันน้ำมันเข้าระบบ


              ถังแยกน้ำมัน (Oil Separator)

                     ในระบบทำความเย็นนั้นปริมาณของน้ำมันหล่อลื่นจะถูกนำออกมาทางท่อทางออกของคอมเพรสเซอร์ไปกับไอของสารทำความเย็นเสมอ  การแยกน้ำมันหล่อลื่นออกจากไอของสารทำความเย็นแล้วนำกลับเข้ามาสู่ห้องเครื่องของคอมเพรสเซอร์จึงเป็นการทำให้ระบบทำความเย็นยังคงประสิทธิภาพที่ดีดังเดิม  ถังแยกน้ำมันจึงเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ทำหน้าที่แยกน้ำมันหล่อลื่นแล้วออกจากสารทำความเย็นและนำกลับเข้าสู่คอมเพรสเซอร์ก่อนที่น้ำมันหล่อลื่นจะไหลเข้าไปในส่วนประกอบอื่นๆ ของระบบทำความเย็น

4.อุปกรณ์ป้องกันน้ำแข็งอุดตัน

                รีซีฟเวอร์หรือดีไฮเดรเตอร์ (Receiver/Dehydrator)

รีซีฟเวอร์หรือไดรเออร์เป็นตัวดูดและเก็บความชื้น วัสดุที่ใช้ทำสารสำหรับดูดความชื้นในรีซีฟเวอร์คือเซลิก้าเจล ซึ่งมีคุณสมบัติในการเก็บความชื้นและสามารถทนอุณหภูมิได้สูงถึง 150°ฟ ต่ออัตราสารดูดความชื้น 5 ลูกบาศก์นิ้ว อุณหภูมิที่ตัวรีซีฟเวอร์สูงขึ้น ความสามารถในการดูดเก็บกักความชื้นก็จะลดน้อยลงไปเป็นอัตราส่วนกันกับอุณหภูมิ รอบๆ รีซีฟเวอร์








วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ

เครื่องปรับอากาศสำหรับบ้านพักอาศัย ประด้วยชิ้นส่วนต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้
 
1. แผงทำความเย็น (Cooling coll) ทำหน้าที่ รับความร้อนจากอากาศภายในห้องปรับอากาศ

 
2. คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ทำหน้าที่ เพิ่มความดันสารทำความเย็น
 
3. แผงท่อระบายความร้อน (Condensing coll) ทำหน้าที่  ระบายความทิ้งสู่บรรยากาศภายนอกบ้าน
 
4. พัดลมส่งลมเย็น (Blower)  ทำหน้าที่ หมุนเวียนอากาศในห้องปรับอากาศ    
 
5. พัดลมระบายความร้อน (Condensing fan) ทำหน้าที่ หมุนเวียนอากาศภายนอกมาระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น
 
6. แผ่นกรองอากาศ (Filter) ทำหน้าที่ กรองฝุ่นละออง
 
7. หน้ากากกระจายลมเย็น (Louver) ทำหน้าที่ กระจายลมเย็นไปยังพื้นที่ต่าง ของห้องอย่างทั่วถึง